โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน Student Computer Lounge
อาคาร SC1 Building มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
เจ้าของโครงการ : สำนักงานประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา The Information Processing Institute for education and Development
เงินงบประมาณค่าตกแต่ง 6,000,000 ไม่รวมระบบสื่อสารอุปกรณ์ Computer 

แนวคิดและการออกแบบห้องทำ งานของนักศึกษา การออกแบบห้องทำ งานของนักศึกษามีแนวคิดที่จะเพิ่มพื้นที่ทำ งานและการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักศึกษา ได้ใช้งานซึ่งเป็นบริการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อำ นวยความสะดวกให้นักศึกษา เพื่อเป็นสถานที่ที่นักศึกษาสามารถใช้ทำ งานร่วม กันเพื่อพบปะพูดคุย เพื่อประชุมทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือ ทำ งานกลุ่ม ทำการบ้าน และพักผ่อนนอกห้องเรียน แนวทางการจัด ห้องทำ งานมีแนวคิดเดียวกับการจัดสถานที่ทำ งานแต่ไม่ได้เน้นที่ความซับซ้อนขององค์กร เนื่องจากผู้ใช้งานมีเพียง 2 กลุ่มคือนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ให้บริการจำ นวน 2 คน โดยการออกแบบเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลจากเจ้าของโครงการคือสำ นักงานประมวล ข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา (The Information Processing Institute for education and Development ) โดยเป็นการ ออกแบบจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการให้บริการซึ่งเดิมมีเพียงการให้บริการที่มีเพียง Lab Computer เท่านั้นและเริ่มไม่เพียง พอ เมื่อมีการขยายพื้นที่ เจ้าของโครงการต้องการประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้น รวมทั้งออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนที่เปลี่ยน ไปตามยุคสมัย เพิ่มส่วนที่นักศึกษาสามารถใช้งานในลักษณะการทำ งาน การประชุม การเรียนรู้นอกชั้นเรียน และพักผ่อนพูดคุยกัน มากขึ้น โดยการออกแบบเน้นการออกแบบการจัดพื้นที่ในแนวคิดการจัดพื้นที่ตามแนวคิด Collaborative Space โดยจัดสรรพื้นที่ ในลักษณะการทำ งานกลุ่มขนาดต่างต่างกันกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คนและกลุ่มขนาดใหญ่และการทำ งานเดี่ยวที่ต้องการพื้นที่ที่ทำ ให้เกิด สมาธิ โดยแนวทางการออกแบบคือต้องการสร้างสรรค์บรรยากาศที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถทำ งานร่วมกันและทำ งานส่วนตัวได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

 

การออกแบบส่วนทำ งานไม่เพียงเป็นการออกแบบของการจัดวาง เฟอร์นิเจอร์เพื่อให้ใช้งานได้โดยสะดวกเท่านั้นหากแต่การออกแบบ ส่วนทำ งานเป็นส่วนที่สามารถทำ ให้คนใช้งานมีความสุขในการ สร้างสรรค์งานที่ดีรวมทั้งทำ งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ การ ออกแบบส่วนที่ทำ งานโดยเฉพาะองค์กรทางธุรกิจยังต้องเพิ่ม เติมส่วนที่แสดงออกให้เห็นถึงเอกลักษณ์ค่านิยม รวมไปถึง วัฒนธรรมขององค์กรด้วยในเวลาเดียวกัน ซี่งในส่วนของการออกแบบนี้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสร้างเอกลักษณ์ในส่วนนี้อาจไม่มีความ จำ เป็นต้องเห็นเด่นชัด แต่ต้องใช้รูปแบบการตกแต่งให้เหมาะสมกับ ความชอบของผู้ใช้งานที่ส่วนมากคือนักศึกษามหาวิทยาลัย นอกจากนั้น การออกแบบที่โน้มน้าวให้เกิดพฤติกรรมที่ดีเช่น การอยากทำ งานร่วม กัน ความสะดวกที่จะทำ งานเป็นกลุ่ม การออกแบบจะทำ ให้ให้คนใช้ พื้นที่เหล่านั้นมีความสัมพันธ์ร่วมมือกันและก่อเกิดแนวคิดที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นการออกแบบส่วนทำ งานที่ดีจึงควรสร้างบรรยากาศของการ ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม โน้มน้าวหรือจัดการสร้างพื้นที่ที่เหมาะสม ที่จะให้คนที่ทำ งานสามารถมาใช้พื้นที่ทำ งานร่วมกันเพื่อให้เกิด การคิดสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นได้ในการทำ งาน

ขั้นตอนการออกแบบสามารถ ลำดับได้เป็น

1. รวบรวมความต้องการของกิจกรรม ที่จะเกิดขี้น โดยกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น เป็นการให้ข้อมูลจากเจ้าของโครงการ และเป็นความต้องการของนักศึกษาที่ ได้มีการรวบรวมเก็บเป็นข้อมูลโดยการ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการถึง ความต้องการเพิ่มเติมของนักศึกษา

2. เรียงลำ ดับของกิจกรรมที่ต้องการให้ เกิดขึ้นและรวบรวมเป็น Facilities ที่ จะสามารถตอบสนองต่อกิจกรรมตาม ต้องการได้และความต้องการพิเศษที่จะ ช่วยเพิ่มความสะดวก หรือประสิทธิภาพ ในการใช้งาน เช่น โต๊ะทำ งานคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ 2-3 คนเวลา ทำ งานกลุ่มร่วมกัน หรือห้องทำ งานที่ สามารถพูดคุยกันได้โดยไม่รบกวนการ ทำ งานของนักศีกษาคนอื่น

3. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแยกออกได้เป็น แนวทางการ ออกแบบสถานที่ทำ งาน การออกแบบ สถานที่ทำ งานที่ส่งเสริมการทำ งานร่วม กัน CollaborationSpaceการออกแบบ สถานที่ทำ งานที่เน้นความสบายและมี ความสุขในการใช้พื้นที่ การออกแบบ พื้นที่ทำ งานที่ให้ความเป้นส่วนตัวและ สร้างสมาธิให้กับคนทำ งาน ลักษณะพื้นที่ และความเป็นส่วนตัว ลักษณะของการ ตกแต่ง สภาพแวดล้อมที่ทำ ให้คนทำ งาน มีสมธิและสามารถทำ งานได้ดี

4. สรุปแนวทางและรายละเอียดการออกแบบโดยประมวลจากข้อกำ หนด การออกแบบตามทฤษฎีเพื่อระบุขนาด พื้นที่ (area requirement) การจัดวาง ผัง (zoning) และการวางผังเฟอร์นิเจอร์ (space planning) และงานออกแบบ (design) สรุปแนวทางออกแบบประกอบโดยหลักจิตวิทยาสภาพแวดล้อม

ทฤษฏีและงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อออกแบบพื้นที่ทำงาน

การออกแบบสถานที่ทำงานสมัยใหม่จะให้ความ สำคัญที่เริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมของคนใช้งานเพื่อแนวคิดในการสร้างประสบการณ์ ที่ดีในการทำงาน การทำให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนที่ใช้พื้นที่เพื่อการทำ งานการออก พื้นที่ทำงานสมัยใหมมักจะ่เน้นพื้นที่ในลักษณะการวางผังแปลนที่มีลักษณะเปิด (open space plan) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางเลือกที่จะอำนวยให้คนทำ งานสามารถทำงาน ที่ไหนก็ได้ในบริเวณและทำงานร่วมกันหรือปรึกษาพูดคุยกันได้ในงานที่ทำ ร่วมกัน ที่ เรียกว่าเป็นการใช้แนวคิดการออกแบบที่เน้น Collaborative Space และที่สำคัญใน ทางอ้อมคือเป็นแนวทางการเชื่อมให้คนที่มีความรู้ที่แตกต่างกันสามารถมีโอกาสพบปะ พูดคุยและรู้จักกันได้ ถ้าเป็นในบริษัทคือการที่สามารถเชื่อมระหว่างคนทำงานจากต่างสาขาที่มีองค์ความรู้ที่แตกต่างกันไป และจากคนทำงานหลายระดับความรับผิดชอบใน องค์กรเข้าได้ด้วยวิธีนี้แต่การเปิดแปลนโล่งในลักษณะ open plan อาจมีข้อปัญหาที่ ต้องคิดถึงในการออกแบบ เช่นการที่ต้องออกแบบเพื่อให้เกิดพื้นที่ที่สามารถสร้างสมาธิ ให้กับคนทำงาน การจัดการกับระบบการสะท้อนของเสียงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เปิดโล่ง แนวทางการแก้ไขอาจจัดการวางผังหรือห้องที่สามารถก่อให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวในแปลน ได้การออกแบบส่วนพื้นที่ประชุมเป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ให้กับการสร้างความเป็นส่วน ตัวให้กับคนใช้งานที่บางครั้งมีความจำเป็นที่ต้องใช้พื้นที่ ในการออกแบบห้องทำงาน สำหรับนักศึกษาอาจไม่จำ เป็นต้องการความเป็นส่วนตัวสูงมากเหมือนในการออกแบบ สำนักงานทั่วไปเพราะไม่ได้มีข้อมูลที่เป็นความลับมากขนาดเหมือนในสำนักงานทั่วไป แต่ยังคงต้องมีห้องประชุมที่สามารถปิดได้บ้างเพื่อใช้งานได้โดยการออกแบบเพิ่มเติม อาจต้องคำถึงถึงกลุ่มหรือขนาดของคนใช้งานเนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษา สำหรับ การจัดพื้นที่ที่เน้นการทำ งานร่วมกันหรือก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันสามารถสร้างได้ โดยในการออกแบบพื้นที่สำ หรับการทำงานร่วมกันในสมัยเริ่มต้นของการออกแบบ พื้นที่ทำ งานส่วนมากออกแบบเป็นลักษณะของการตั้งใจให้เกิดพฤติกรรมการประชุมให้ เกิดขึ้นเช่น ห้องประชุมที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามความต้องการใช้สอยพื้นที่ดังนั้น การออกแบบห้องประชุมในพื้นที่ทำ งานจึงมักจะถูกออกแบบให้มีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างจริงจัง แต่การออกแบบในปัจจุบันในที่ทำ งานสมัยใหม่เปลี่ยนไปมากเนื่องจากแนวคิดที่ต้องการให้เกิดนวัตกรรม (innovation) ซึ่ง การจะเกิดแนวคิดหรือนวัตกรรมขึ้นได้ง่ายจะเกิดในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการ

พื้นที่ทางสังคม และการมีปฎิสัมพันธ์ที่น่าสนใจมากกว่าพื้นที่การประชุมที่เป็นทางการ การออกแบบพื้นที่ที่ต้องการให้คนทำ งานมีปฎิสัมพันธ์ร่วมในการทำงาน จึงต้องเพิ่มเติมพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการมากนัก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เกิดการเกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนใช้พื้นที่ เช่น โซฟานั่งสบาย ห้องประชุมที่ไม่เป็นทางการ มากนัก หรือพื้นที่นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้เพื่อคนใช้งานสามารถ จัดการพื้นที่เพื่อสร้างพื้นที่ใช้งานได้ด้วยตัวเองตามพฤติกรรมการใช้งาน แนวทางการจัดเฟอร์นิเจอร์สำ หรับพื้นที่ทำ งาน การออกแบบพื้นที่ทำ งานในยุคสมัยใหม่ที่แม้เทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าไปไกล แล้วแต่พื้นที่ทำ งานร่วมกันก็ยังเป็นที่ที่สำคัญ ที่คนส่วนมากจะมาใช้ด้วยเหตุผล ในการดำ เนินธุรกิจการงานและเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละคนที่มี เหตุผลต่างกันไป ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ทำ งานยังคงต้องแสดงให้เห็นถึงการมี เอกลักษณ์มีคุณค่าและวัฒนธรรมความเชื่อขององค์กรที่เป็นสิ่งที่อาจจะมองไม่เห็น ได้ด้วยตาพัฒนาการของการจัดวางผังของสถานที่ทำงานมีมาอย่างยาวนานขึ้นอยู่ กับลักษณะการบริหารจัดการภายในองค์กรเป็นสำคัญ ตั้งแต่การจัดวางแปลนแบบ ผังการทำงานภายในโรงงานในยุคแรกมาจนกระทั่งการจัดผังแบบ open plan ใน ยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารและวัฒนธรรมแนวคิดการทำ งานที่องค์กรเป็นลักษณะ ที่เป็นการทำ งานร่วมกันมากกว่าการส่งคำสั่งมาจากส่วนบนสุดของผังองค์กร การ วางผังของเฟอร์นิเจอร์ในส่วนทำ งานก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามนั้นตลอด เวลาเราสามารถแบ่งการวางผังส่วนทำ งานได้เป็น 4 แบบที่มีการใช้ตามวัฒนธรรม การทำ งานขององค์กรที่แตกต่างกันไปและบางองค์กรก็มีการใช้งานที่ประสม ประสานกันตามความเหมาะสมในการทำ งานโดยแยกเป็น

1. การจัดแบบ Cell คือ เป็นลักษณะห้องที่อาจจะปิดหรือเป็น partitionไม่สูงมากก็ได้

2.การจัดแบบ Den คือการจัดแปลนที่แยกเป็นกลุ่มที่ทำ งานร่วมกันไว้ในที่เดียวกันโดยมีส่วนสนับสนุน อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

3. การจัดแบบ Club จะเป็นการจัดที่เป็นการทำ งานสำ หรับ ผู้ที่มีความรู้หรือระดับบริหารทำ งานร่วมกันไว้ในที่เดียวกันมีส่วนสนับสนุนรวมอยู่ ในบริเวณใกล้กัน และชนิดสุดท้าย

4. Hive คือการจัดแปลนที่การทำงานไม่มีความ จำ เป็น ที่จะต้องใช้การพูดคุยปรึกษากันมากนักการจัดโต๊ะจะเพื่อความสบายในการ ทำ งานเท่านั้นลักษณะเป็นการจัดโต๊ะแยกเรียงกันไปเป็นแถวสำ หรับแนวคิดการจัด พื้นที่ในการทำ งานให้นักศึกษาจะใช้การผสมผสานกันของการจัดแบบ Hive Den และ Cellสำ หรับส่วนห้องประชุม ห้องทำงานกลุ่ม โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการ ใช้พื้นที่และการทำงาน

 

ZONING & FURNITURE LAY OUT PLAN

 

พื้นที่ในการออกแบบประกอบด้วยส่วน โถงติดต่อหรือโถงต้อนรับที่ตั้งอยู่ด้าน หน้าของพื้นที่ ส่วนทำ งานจะแบ่งออก ได้เป็น 4 ส่วนคือ ส่วนนั่งทำ งานโดยใช้ โต๊ะทำ งานที่เป็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ โดย แบ่งแยกพื้นที่เป็นห้องขนาดใหญ่ 3 ห้อง ส่วนห้องสำ หรับประชุมหรือพูดคุย อ่าน หนังสือร่วมกันได้โดยสามารถปิดห้องเพื่อ ให้เกิดสมาธิความเป็นส่วนตัวได้โดยจัด วางให้อยู่ด้านหลังของเคาเตอร์ต้อนรับ และส่วนที่เป็นห้องสำ หรับพักผ่อนพูดคุย ได้ซึ่งแยกกั้นเป็นผนังทึบกรุไม้อยู่ด้านใน ที่สามารถมองออกไปด้านนอกที่มีสวน ข้างอาคารได้พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่ที่ ชั้นล่างติดกับทางเดินเข้าอาคารเพื่อไปสู่ ห้องเรียนในอาคารเรียนรวม SC1 ส่วน ด้านหน้าทางเดินจะเป็นเส้นทางเดินหลัก ท่ี่นักศึกษาส่วนมากใช้เดินขึ้นบันไดดังนั้น ตลอดแนวทางเดินและผนังส่วนล่างของ แปลนจะมีความวุ่นวายและมีกิจกรรม เกิดขึ้นตลอดเวลา ในการออกแบบเลือก ใช้ผนังกระจก Tempered เพื่ิอเชื้อเชิญ ให้เห็นกิจกรรมภายในให้นักศึกษาสนใจ และสามารถเดินเข้ามา

พื้นที่ทำ งานของนักศึกษาใช้พื้นที่มากที่สุด การจัดวางเฟอร์นิเจอร์จะเป็นลักษณะของ Hive และตามลักษณะการใช้งานโดยเลือกใช้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่เพื่อบางครั้งที่นักศึกษา มีการใช้งานมากว่า 2 คนและเพิ่มความเป็นส่วนตัวโดยการใช้ partition กั้นส่วนเพื่อ ความเป็นระเบียบและการใช้งาน แสงที่ใช้จะไม่เน้นสว่างมากเหมือนการทำ งานเอกสาร เนื่องจากทำ งานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีแสงอยู่แล้ว สีที่ใช้ในพื้นที่จะเน้นสีเข้มเช่นสี เทาอ่อน สีเทาเข้ม และสีขาวและไฟที่ใช้จะเป็นไฟฟลูออเรสเซนต์ที่เหมาะกับการใช้งาน เนื่องจากอยู่ชั้นล่างของอาคารทำ ให้ฝ้าเพดานจะสูงทำ ให้ได้ใช้ประโยชน์ในการเปิดฝ้า เพดานและเดินงานระบบที่ทำ ให้ห้องมีลักษณะที่สูงโปร่ง แต่จำ เป็นต้องแขวนดวงโคม และลดระดับลงมาเพื่อเพิ่มปริมาณของแสงสว่างในพื้นที่ การตกแต่งเลือกใช้ไม้สนย้อม สีธรรมชาติกรุที่ผนังส่วนกั้นส่วนของห้องประชุมเพื่อลดความแข็งกระด้างของพื้นทั่ว บริเวณที่เลือกใช้พื้นคอนกรีตขัดมันเคลือบยูรีเทน รวมทั้งเลือกใช้สีฟ้าที่ให้ความสดใสให้ กับพื้นที่และมีตัวหนังสือกราฟฟิคที่ได้แนวคิดมาจากสัญญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อ นำ มาเพิ่มความน่าสนใจและลดความเป็น mass ขนาดใหญ่ของพื้นที่

 

MEETING ROOM

 

ห้องประชุมขนาดเล็กสำ หรับให้นักศึกษาใช้ทำ งานร่วมกัน ใชทบทวนบทเรียน ใช้ สอนพิเศษ สามารถใช้งานได้ประมาณ 10 ที่การออกแบบจัดวางไว้ด้านหลังส่วน เคาเตอร์ต้อนรับ ใช้กระจกใสเป็นส่วนแบ่งกั้นแต่สามารถปิดประตูได้เป็นการ เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ที่ใช้งานอยู่ภายในแต่ยังคงสามารถมองเห็นได้จาก ภายนอก เนื่องจากลักษณะการใช้งานไม่ได้มีความลับที่สำคัญมาก ภายในห้อง ประชุมยังคงใช้ลักษณะการออกแบบที่เป็นรูปลักษณะเดียวกับภายนอกไม่ว่าจะ เป็น วัสดุ หรือสีที่เลือกนำ มาใช้เนื่องจากส่วนนี้ติดกับด้านนอกของอาคารมีแสง ธรรมชาติเข้ามาจากด้านข้างซึ่งเป็นข้อที่ดีทำ ให้ห้องนี้ไม่มีความจำ เป็นต้องเปิดไฟ ตลอดเวลาและยังดูสว่างสดใสเหมาะกับการทำ งาน

 

SHARE SPACE

พื้นที่ลึกด้านในเป็นส่วนที่ถูกแบ่งแยกออกมาจากส่วนนั่งทำ งานรวม โดยการใช้ผนังทึบกั้นแบ่ง ส่วนทำ ให้บริเวณนี้จะมีความเป็นส่วนตัวมากรวมทั้งมีการยกพื้นบริเวณนี้ทั้งหมดให้สูงขึ้นเพื่อ เป็นระดับที่แตกต่างกับพื้นดินด้านนอกและระดับพื้นทั่วไป ผนังด้านยาวตลอดของห้องจะติด กับสวนด้านนอกทำ ให้มีแสงธรรมชาติเข้ามาสู่พื้นที่ได้ตลอดแนว ทำ ให้ส่วนพื้นที่ทำ งานจะมี แสงธรรมชาติและสีเขียวของธรรมชาติภายนอก การจัดวางเฟอร์นิเจอร์จะเป็นการผสมผสมกัน ของเฟอร์นิเจอร์ติดตายขนาดใหญ่คือส่วน sofa ติดผนังและเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่สามารถขยับ เคลื่อนที่ได้โดยง่ายเพื่อการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนไปตามกิจกรรม

Refernces:

Julie K. Rayfield. (1993). The office interior design guide: An introduction for facility and design professionals. John Willey & Sons, Inc.

Knoll, Inc. (2013). Creating Collaborative Spaces that Work. Retrived from https://www.knoll.com/document/1352994554274/Collabora tiveWorkplace_wp.pdf.

Williamson, C. ( 2018). 10 Flexible Furniture Options for Any Modern Office. Retrived from https://design-milk.com/10-flexible-furniture- options-for-any-modern-office/.

SBFI. (2019) . Workplace design trends for 2019 . Retrived from https://www.sbfi.com/design-news-insight/workplace-design-trends-2019/

Michal.(2019). Optimizely’s San Francisco Headquarters. Retrived from https://www.officelovin.com/2014/05/05/optimizelys-san-francisco- headquarters/