สิ่งที่ส่งมาด้วย 3

รูปแบบและรายละเอียดบทวิเคราะห์งานออกแบบเพื่อขอรับเงินเสริมสร้างวิชาการ

 

(พร้อมนำข้อมูลและภาพงานออกแบบลงในเวปไซต์ของ CIDAR)

 

1.  ชื่องานออกแบบ

“โครงการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง”

 

2. หลักการและที่มาของงานออกแบบ

โครงการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ได้จัดทําขึ้นโดยมีความมุ่งหวังเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการออกแบบกราฟิกสําหรับสภาพแวดล้อมของคณะฯ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ศาสตร์ที่บูรณาการหลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกันคือ ออกแบบกราฟิก ออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และออกแบบสถาปัตยกรรม โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของคณะฯ และเพื่อให้ผลงานออกแบบถูกนําไปประยุกต์ใช้สร้างภาพลักษณ์และบรรยากาศที่เน้นการออกแบบเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร

สมาคมการออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อม (SEGD: Society for Environmental Graphic Design) ได้กล่าวไว้ว่าการออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อมมีหน้าที่ในการชี้นำทาง สื่อสารอัตลักษณ์และข้อมูล รวมทั้งการสร้างรูปแบบและแนวความคิดให้กับสถานที่ ซึ่งตัวอย่างงานออกแบบที่มีการใช้กราฟิกสภาพแวดล้อมจะประกอบไปด้วย ระบบป้ายสัญลักษณ์ ป้ายหรือกราฟิกทางสถาปัตยกรรม การออกแบบนิทรรศการ การออกแบบเอกลักษณ์องค์กร การออกแบบภาพสัญลักษณ์ การออกแบบแผนผังหรือแผนที่ การออกแบบตกแต่งร้านค้า และการออกแบบสื่อแฝงในบรรยากาศ เป็นต้น

โดย ‘ปายสัญลักษณ’ (Signage) นับเปนสวนหนึ่งของ ‘การชี้นําทาง’ (Wayfinding) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำทางใหกลุมเปาหมายเดินทางไปถึงที่หมายอยางสะดวกและปลอดภัย (เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา, 2543, หน้า 28) ส่วนคำว่า ‘ระบบปายสัญลักษณ’ (Signage System) หมายถึง รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ทั้งหมดที่ใชในการแนะนําเส้นทางหรือระบุถึงตำแหน่งหรือสถานที่ตางๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและไมกอใหเกิดความสับสนหรือหลงทาง ทั้งยังสามารถชวยทำให้พื้นที่หรือเมืองดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงผลดีตอการดำเนินชีวิตของประชากร โดยระบบปายสัญลักษณที่สามารถพบเห็นไดทั่วไป ไดแก ปายสัญลักษณ์ในชุมชนเมือง ถนน ทางสัญจร ปายสัญลักษณ์ภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งปายสัญลักษณ์ตามสถานที่สําคัญตางๆ

จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อมจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลด้วยกราฟิกสำหรับสถานที่ต่างๆในสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีวิธีการสื่อสารข้อมูลที่สลับซับซ้อนและรายละเอียดที่แตกต่างกัน โดย เวย์น ฮันท์ (Wayne Hunt) ได้แบ่งประเภทของการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อมไว้ 3 ประเภท (Hunt, 1994, p. 4) ซึ่งทางโครงการฯ จะใช้เป็นตัวแบ่งการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะเป็น 3 ระดับ ดังนี้

 

 2.1 การชี้นำทาง (Wayfinding) ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์ที่ช่วยบอกทิศทางและชี้ตำแหน่ง

โดยส่วนใหญ่แล้วป้ายสัญลักษณ์และการชี้นำทางจะใช้เพื่อให้ข้อมูลและบอกทิศทางที่สัมพันธ์กับสถานที่ ซึ่งการออกแบบลักษณะของป้ายที่ดีจะสามารถช่วยสร้างความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สร้างความรู้สึกโดดเด่นและแตกต่าง รวมทั้งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสถานที่นั้นๆ นอกจากป้ายจะมีหน้าที่ชี้นำทางหรือสร้างความโดดเด่นแล้ว ยังใช้เพื่อสื่อสารข้อมูลในด้านอื่นๆ อย่างเช่น การชี้เตือน ข้อควรปฏิบัติและการใช้งาน หรือ การจัดแสดง เป็นต้น เนื่องจากการใช้งานป้ายสัญลักษณ์และการนำทางในลักษณะต่างๆมีความหลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักถึงหน้าที่ที่สำคัญของป้ายก็คือช่วยชี้นำทางให้มนุษย์ไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งในการชี้นำทางที่มีประสิทธิภาพอาจต้องใช้ป้ายมากกว่าหนึ่งป้าย จะเห็นได้จากในปัจจุบันจะมีป้ายประเภทต่างๆอยู่มากมายบนทางเดินเท้า รวมถึงตัวช่วยในการชี้ทางอื่นๆ อย่างเช่น จุดนัดพบ แผนที่ ไกด์นำทาง หรือการใช้ระบบจีพีเอส เป็นต้น

 

2.2 การเล่าเรื่อง (Interpretative) ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์ที่ให้ข้อมูลและบอกเล่าเรื่องราว

ประเภทของการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อมลักษณะนี้จะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความรู้ต่างๆ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลงานหรือสินค้าของหน่วยงานต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีการนำเสนอเรื่องราวและข้อมูลดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของการจัดงานแสดงและนิทรรศการ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการจัดรูปแบบพื้นที่ การเตรียมสื่อภาพ กราฟิก และเสียง รวมทั้งอุปกรณ์ประกอบและเครื่องมือต่างๆ ฯลฯ ซึ่งสามารถใช้งานได้ในแบบชั่วคราวหรือถาวร ทั้งบริเวณพื้นที่ภายในและภายนอก โดยอาจจะกำหนดให้การจัดแสดงดังกล่าวทำหน้าที่สร้างจุดเด่นให้กับสถานที่นั้นได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการนำเสนอข้อมูลในลักษณะนี้จะมีลักษณะแตกต่างจากระบบป้ายสัญลักษณ์และการชี้นำทาง ซึ่งใช้ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ร่วมกับเทคนิคพิเศษโดยใช้ แสง สี เสียง เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสินค้าหรือบริการ รวมทั้งช่วยสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชมได้ประทับใจในเวลาเดียวกัน (Finke, 1999, p. 5)

 

2.3 การสร้างเอกลักษณ์ (Placemaking) ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์ที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่

เป็นลักษณะการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิธีในการแสดงรูปแบบได้หลากหลายวิธี ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าป้ายสัญลักษณ์และการจัดแสดงเพื่อเล่าเรื่องราวก็สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับสถานที่ได้เหมือนดังเช่นสิ่งต่างๆ เช่น ซุ้มทางเข้า ที่นัดพบหรือจุดเยี่ยมชม เพียงแต่จะต้องมีการสร้างการสื่อสารข้อมูลที่มีความชัดเจนมากกว่าปกติให้กับกราฟิกสภาพแวดล้อมดังกล่าว (Mollerup, 2005, p. 17) โดยถ้าปราศจากการสื่อสารข้อมูลที่มีความชัดเจนแล้ว การสร้างจุดเด่นดังกล่าวก็จะเป็นเพียงการสร้างสถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน หรือประติมากรรมที่มีอยู่ทั่วไป ดังนั้นอาจจะต้องมีการตั้งทีมออกแบบขึ้นเฉพาะสำหรับการสร้างสิ่งที่เป็นจุดเด่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างหรืออนุสาวรีย์ขนาดเท่าจริง รวมถึงบางครั้งอาจจะต้องสร้างให้สอดคล้องตามรูปแบบภาพรวมและขนาดของโครงการที่กำหนดด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการรวมกันขององค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมหรือบริบทของสถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นประเภทของงานออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวแทนของการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและง่ายต่อการจดจำ

 

3.  แนวความคิดในการออกแบบ

 

การประยุกต์ใช้หลักการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อมเปรียบเสมือนการใช้แนวทางการออกแบบกราฟิกเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ นักออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อมจะเริ่มจากการเลือกใช้องค์ประกอบกราฟิกประเภทต่างๆ โดยประยุกต์ใช้หลักการออกแบบเพื่อให้สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของการออกแบบ และสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน โดยแนวทางและหลักการออกแบบกราฟิกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความสมดุล ขนาดสัดส่วน ความกลมกลืน ความแตกต่าง การเคลื่อนไหว มุมมองทัศนียภาพ และความมีเอกภาพ (อรรฆพันธ์ เธียรถาวร, 2552) ซึ่งวิธีการและความหมายโดยทั่วไปอาจคล้ายกัน เพียงแต่แนวคิด รูปแบบ และลักษณะเฉพาะตัวของนักออกแบบในการประยุกต์ใช้ย่อมแตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว

            โดยการใช้องค์ประกอบกราฟิกสำหรับป้ายสัญลักษณ์นั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ศิลปะในการสื่อสารทางสายตา ซึ่งองค์ประกอบกราฟิกบนป้ายสัญลักษณ์สามารถทำให้ป้ายสัญลักษณ์ดูน่าสนใจ โดดเด่น ชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบของรูปแบบและวิธีการนำเสนอข้อมูลบนป้ายสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อมมีหน้าที่ในการคัดเลือกและจัดสรรองค์ประกอบกราฟิกโดยประยุกต์ใช้หลักการออกแบบต่างๆมาใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบไปด้วยการเลือกใช้ตัวอักษร สัญลักษณ์ สี แผนภาพ และองค์ประกอบกราฟิกอื่นๆ อย่างเช่น เส้นตั้ง เส้นนอน วงกลม สี่เหลี่ยม และรูปเรขาคณิตอื่น รวมถึงองค์ประกอบที่ใช้สำหรับตกแต่ง จากนั้นจึงจัดวางองค์ประกอบกราฟิกเหล่านั้นโดยใช้หลักการที่เหมาะสมสำหรับป้ายสัญลักษณ์รูปแบบต่างๆทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก

            นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่าการนำหลักการออกแบบกราฟิกมาประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบกราฟิกสภาพแวดล้อมและระบบป้ายสัญลักษณ์ มีความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าและบริการ รวมทั้งรูปแบบของการสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานที่รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้แตกต่างได้ไม่เหมือนใคร ซึ่งการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อมที่ช่วยสร้างความมีเอกภาพ (Unity) และส่งเสริมให้เกิดอัตลักษณ์ (Identity) สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวความคิดการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะฯ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้ โดยสามารถแบ่งแนวความคิดในการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะฯเป็น 2 รูปแบบดังต่อไปนี้

 

            3.1 การเสริมสร้างความกลมกลืน

            จะใช้รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ที่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถานที่ เช่น รูปร่างและรูปทรงของอาคารสถาปัตยกรรมฯ รวมทั้งบริบทแวดล้อมต่างๆให้ดูสอดคล้องกันและสามารถสื่อสารความเป็นอัตลักษณ์เดียวกันได้ ซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะสำหรับการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับสถานที่ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน โดยอาจเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่หรือมีพัฒนาแก้ไขปรับปรุงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบก็จำเป็นต้องทำงานร่วมกับทีมงานฝ่ายต่างๆภายในคณะเพื่อให้สามารถสื่อสารถึงภาพรวมเดียวกันได้

 

            3.2 การสร้างเสริมภาพรวม

            จะใช้วิธีการสร้างระบบป้ายสัญลักษณ์ที่มีเอกภาพ โดยการหลอมรวมความหลากหลายและความแตกต่างของคณะสถาปัตยกรรมฯ ให้มีเอกลักษณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถแสดงถึงลักษณะเฉพาะตัวของสถานที่นั้นๆได้อย่างชัดเจน วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ที่มีองค์ประกอบขนาดใหญ่อันมีความหลากหลายอยู่ร่วมกัน ดังเช่น ตัวเมือง โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ ระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเหล่านั้นให้มีอัตลักษณ์เดียวกันได้ด้วยระบบป้ายสัญลักษณ์

            ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของระบบป้ายสัญลักษณ์ด้วยวิธีการเสริมสร้างความกลมกลืนหรือการสร้างเสริมภาพรวม ป้ายสัญลักษณ์จะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการค้นหาสิ่งต่างๆที่ต้องการ โดยการประยุกต์ใช้องค์ประกอบและหลักการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อม ที่สามารถก่อให้เกิดความรู้สึก ความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้ ดังนั้นจะเห็นว่าป้ายสัญลักษณ์ที่ดีก็เปรียบเสมือนพนักงานต้อนรับที่มีอัธยาศัยดี ทักทายเจรจากับลูกค้าอย่างเป็นกันเอง ซึ่งจะยิ่งช่วยสร้างความประทับใจ ความสัมพันธ์ที่ดี และความจงรักภักดีของลูกค้าให้กลับมาใช้บริการต่อไปได้

 

4.  วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อประยุกต์ใช้ศาสตร์ด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อมในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ด้วยการแก้ปัญหาทางการออกแบบได้อย่างเหมาะสมและตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย

2. เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ที่ดีด้วยการสร้างความเป็นเอกลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ที่สามารถช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่สร้างสรรค์ของโรงเรียนการออกแบบ

3. เพื่อสร้างรูปแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องคล้องกับบริบทความยั่งยืนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

 

 

5.  เอกสารอ้างอิง

 

อรรฆพันธ์ เธียรถาวร. (2552). กราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อม. อัดสำเนา.

อรรฆพันธ์ เธียรถาวร. (2552). ออกแบบกราฟิก 1. อัดสำเนา.

เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. (2543). ระบบปายสัญลักษณ. กรุงเทพฯ : พลัสเพลส.

 

Finke, G. D. (1999). Festival graphics. New York : Madison Square.

Hunt, W. (1994). Designing & planning environmental graphics. New York : Madison Square.

Mollerup, P. (2005). Wayshowing: A guide to environmental signage principles and practices. Baden, Switzerland : Lars Muller.