What is Design Future Lab?

Design Future Lab คือพื้นที่ที่ให้โอกาสแก่นักศึกษาได้นำเสนอ ทดลอง และทดสอบความคิด ในรูปแบบของ Design Incubator หรือแหล่งบ่มเพาะธุรกิจด้านนวัตกรรมทางการออกแบบซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต (Thammasat Design School) โดยทางโครงการมีการจัดเตรียมทั้งด้านสถานที่และบุคลากรที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมให้แก่นักศึกษาได้พัฒนาให้ตรงจุด

าก Facebook: DesignFutureLab@designfuturlabthammasat                                                 

1. ข้อมูลและรายละเอียดของโครงการ

ชื่อโครงการ: ห้องปฏิบัติการ(ชั่วคราว) Design Future Lab

ที่ตั้ง: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

เจ้าของโครงการ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

พื้นที่ภายในอาคาร : 58 ตารางเมตร

พื้นที่ภายนอกอาคาร :  

งบประมาณ  

สถาปนิก: เพชร จิตต์สุวรรณ Phet Jitsuwan

ผู้ช่วยสถาปนิก : วโรภาส ชุนณะวงค์ , ศุภลักษณ์ เกื้อทองมาก

วิศวกรโครงสร้าง โสภณ จุลเสวก สย.5088

วิศวกรไฟฟ้า ต่อศักดิ์ ทิพนนท์ สฟก.4975     

ภาพถ่าย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิรันดร ทองอรุณ

ภาพประกอบ วโรภาส  ชุนณะวงค์ 

ปีทำการออกแบบ พ.ศ. 2559

ปีทำการก่อสร้าง พ.ศ. 2560

2. วัตถุประสงค์ในการทำโครงการ

Design Future Lab คือพื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน (Co -working space), การค้นหา (Incubator) และ เป็นที่บ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ (Accelerator) สำหรับนักศึกษาจากทุกสาขาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (Thammasat Design School) โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ

- เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับนักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และปฏิบัติงานในโครงการของตนเอง
- เพื่อให้นักศึกษา ได้รับการ สนับสนุนจาก เครือข่ายศิษย์เก่า และ วงการอุตสาหกรรม รวมถึงจากที่ปรึกษา และ ได้ทดลอง แนวความคิดในเชิงธุรกิจ รวมถึงการสร้าง ผลิตภัณฑ์และการบริการ
- เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากต่างสาขา ได้ทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวความคิด
จาก Facebook: DesignFutureLab@designfuturlabthammasat

 

3. การวิเคราะห์โครงการ

การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ

พื้นที่ตั้ง: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

ลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของโครงการตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารหลักคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง การวางผังอาคารตั้งอยู่ทางทิศใต้ติดกับถนนหลัก พื้นที่โดยรอบมีต้นปาล์มขวดอยู่จำนวน 8 ต้น ที่โครงการตั้งเป็นตำแหน่งที่เห็นได้ชัดจากมุมมองภายนอก (External approach view) จึงเป็นจุด “Landmark” ได้เป็นอย่างดี

Master plan                                                                      (External approach view)

ภาพผัง (Master plan) แสดงตำแหน่งที่ตั้งอาคารและภาพมุมมองจากภายนอก  (External approach view) 

External approach view

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงภาพมุมมองจากภายนอก  (External approach view) 

 

4. การวิเคราะห์ผู้ใช้งานในโครงการ

ผู้ใช้งานในพื้นที่คือนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (Thammasat Design Shcool) จากสาขาต่างๆที่ได้ผ่านการนำเสนอโครงการแล้ว

พื้นที่ในโครงการสามารถรับผู้ใช้งานได้ครั้งละประมาณ 3-4 กลุ่มและมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ และสามารถทำงานในพื้นที่ได้ 24 ชม.

เนื่องจากตัวอาคารตั้งอยู่ในตำแหน่งที่อยู่ห่างจากอาคารหลักคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน ทางเข้า-ออก จึงติดตั้งระบบสแกนนิ้วที่สามารถใช้ได้เฉพาะผู้เข้ารวมโครงการเท่านั้น ร่วมถึงติดตั้งกล้องวงจรปิดCCTV และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ช.ม

5. แนวความคิดและเป้าหมายในการออกแบบ

5.1 แนวความคิดในการออกแบบ

ผู้ออกแบบได้รับโจทย์โดย ให้นำตู้คอนเทนเนอร์ (container) มาใช้สำหรับออกแบบ ห้องปฏิบัติการ ชั่วคราว( Design Future Lab) โดยการ

วางตู้คอนเทนเนอร์(container)เรียงซ้อนกันในลักษณะรูปตัว L เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยมีตู้คอนเทนเนอร์(container)  จำนวน สองตู้เป็นฐานสำหรับแบกรับชั้น2ไว้

เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์มีพื้นที่ที่จำกัดจึงเลือกใช้ตู้คอนเทนเนอร์ (container)ประเภทสูงพิเศษคือตู้ขนาด 40’High Cubes (40 ฟุต ไฮคิวบ์) มีความสูง2.9 เมตรซึ่งจะมีความสูงกว่าตู้คอนเทนเนอร์ (container)แบบมาตรฐานทั่วไป 50 เซนติเมตร

แนวคิดการออกแบบพื้นที่ภายในและภายนอก โดยการแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 4 ส่วน คือพื้นที่ทำงาน (Working space),  พื้นที่อเนกประสงค์ (Multipurpose Space) พื้นที่ปฏิบัติการ (Workshop) และ พื้นที่บริเวณใต้อาคาร (Public space)

ภายในอาคารพื้นที่ใช้งานทั้งหมดประกอบด้วย ห้องทำงาน (Working space)ใช้ สำหรับทำงานและประชุม จำนวน 2 ห้อง,  ห้องอเนกประสงค์(Multipurpose Space) ห้อง สำหรับใช้จัดแสดงงานหรือจัดกิจกรรมต่างๆ จำนวน 1 และห้องปฎิบัติงาน (workshop)จำนวน 1 ห้อง  รวมพื้นที่ใช้งานทั้งหมด ประมาณ58 ตรม. ประกอบกับมีพื้นที่บริเวณใต้อาคาร (Public Space) สามารถใช้สำหรับนั่งพักผ่อนหรือทำกิจกรรมต่างๆได้  

แนวคิดในการเลือกใช้วัสดุ (Material)

เนื่องจากโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์ (container)ทำจากเหล็กทั้งหมดผู้ออกแบบ จึงเลือกใช้เหล็กเป็นวัสดุหลักสำหรับงานโครงสร้างรวมถึงงานตกแต่งภายนอกบางส่วน ซึ่งเป็นวัสดุที่เหมาะสมและรวดเร็วในการก่อสร้าง การใช้แสงธรรมชาติในช่วงกลางวันเป็นการประหยัดด้านพลังงานผู้ออกแบบได้ออกแบบช่องกระจกขนาดใหญ่ในหลายส่วนของตัวอาคาร และเพื่อความปลอดภัยผู้ออกแบบเลือกใช้กระจกนิรภัยทั้งหมดในโครงการ

- ผนังภายในของในแต่และตู้ ใช้วัสดุแตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมคือ ตู้ Experiment ใช้ แผ่นวีว่าบอร์ด (Viva board) ตู้ Explode ใช้ แผ่นไม้อัด OSB (Oriented Strand Board), Experience ใช้ แผ่นยิปซั่มบอร์ด (Gypsum Board)

-พื้น ปูทับพื้นเดิมด้วยแผ่นวีว่าบอร์ด (Viva board) หนา 2.5 ซ.ม.ทั้งหมด

- ฝ้า กรุด้วย แผ่นยิปซั่มบอร์ด (Gypsum Board) หนา 9 มม

แนวคิดในการเลือกใช้โทนสี (Mood and Tone)

จากการวิเคราะห์กายภาพของอาคารหลักคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง จึงสรุปการเลือกใช้สีที่มีใกล้เคียงกับสีที่มีอยู่โดยรวมเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและกลมกลืนกับบริบท

5.2 เป้าหมายในการออกแบบ

1) ออกแบบพื้นที่ขนาดเล็ก (Small Space) ให้สามารถใช้ในการเรียนรู้ (Learning Space) ได้อย่างสูงสุด

2) การออกแบบควรคำนึงถึงความกลมกลืนกับบริบทเดิม
3) การออกแบบอาคารให้มีเอกลักษณ์ (Identity) เป็นที่จดจำ “Landmark”
4) ให้เป็นพื้นที่พบปะสงสรรค์และทำงานร่วมกันสำหรับนักศึกษาจากต่างสาขาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (Thammasat Design School)

5) เพื่อประหยัดพลังงานโดยการใช้แสงธรรมชาติ

6) เพื่อประหยัดพลังงานโดยการเระบายอากาศ

สรุปจากการวิเคราะห์ในออกแบบได้ดั้งนี้

1).แนวคิดการออกแบบ Learning Space, พื้นที่การเรียนรู้ 

 “Experience - Explore - Experiment”

Experience การสร้างประสบการณ์ในพื้นที่ เช่นจัดแสดงงาน (Gallery) หรือจัดกิจกรรมต่างๆ Explore คือพื้นที่สำหรับปฏิบัติงาน (Workshop) สำหรับนักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทดลองทำงานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น 3D printer เป็นต้น
Experiment คือพื้นที่สำหรับทดลองความคิดใหม่ๆใช้เป็นพื้นที่ประชุมงาน “Brainstorming” 

2).แนวคิดการออกแบบอาคารแบบสถาปัตยกรรมสไตล์สมัยใหม่ (Modern) เพื่อให้มีความเหมาะสมและกลมกลืนกับกายภาพของอาคารหลักคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และบริบทโดยรวม

3) แนวคิดการออกแบบอาคารให้มีเอกลักษณ์ (Identity) เฉพาะตัวเป็น”Landmark” โดยการใช้กระจกสีขนาดใหญ่และชื่อตัวอักษรในแต่ละพื้นที่เพื่อให้โดดเด่นและเป็นที่จดจำ

4) แนวคิดการออกแบบพื้นที่เพื่อให้นักศึกษาจากต่างสาขาได้พบปะกันโดยการออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์ (Multipurpose Space) ซึ่งสามารถใช้จัดแสดงงาน หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ทั้งภายในและภายนอกและสามารถใช้เป็นห้องฟังบรรยาย สำหรับนักศึกษาประมาณ 18-20 คน รวมถึงการออกแบบพื้นที่ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยสามารถรับผู้ใช้งานได้ครั้งละประมาณ 3-4 กลุ่ม

5) แนวคิดด้านประหยัดพลังงานโดยใช้แสงธรรมชาติในช่วงเวลากลางวันโดยการเจาะช่องแสงประมาณ 35% ของพื้นที่

6.แนวคิดการระบายความร้อนจากตู้คอนเทนเนอร์โดยการเจาะช่องเปิดในตำแหน่งที่เหมาะสม และ ออกแบบหลังคาให้มีชายคายื่นออกไปทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเพื่อเพื่อป้องกันแสงแดดไม่ให้กระทบโดยตรง รวมถึงการออกแบบช่องระบายอากาศใต้หลังคาตลอดแนวระบายความร้อนประกอบกับการวางผังอาคารโดยมีต้นปาล์มขวดเดิมปลูกล้อมรอบเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดได้อีกระดับหนึ่ง

 

Programning 

ตู้คอนเทนเนอร์สโตร์

ตู้ขนาด 40' ฟุตไฮคิวบ์ (High Cube) ขนาด กว้าง 2.5 x ยาว 12 x สูง 2.9 เมตร  หนักประมาณ 3.9 ตัน และมีพื้นที่ปริมาตรประมาณ 87 คิวบิกเมตร

1 .ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงภาพตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐานจำนวนสองตู้

2. ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงแนวคิดการแบ่งตู้คอนเทนเนอร์ถูกออกเป็นสองส่วน

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงการแนวคิดการวางตู้คอนเทนเนอร์เรียงซ้อนกันเป็นรูปตัว L

                                      

Plan FL.1 

PLan FL.2 

ภาพผัง (Plan) แสดงแนวคิดการแบ่งพื้นที่การใช้งานทั้งภายในและภายนอก 

 

ภาพด้านตัด (Section) แสดงฟังก์ชั่น(Function) และความสัมพันธ์ของพื้นที่การใช้งานทั้งภายในและภายนอก

 

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงฟังก์ชั่น(Function) และความสัมพันธ์ของพื้นที่การใช้งานทั้งภายในและภายนอก

 

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงทางสัญจร(circulation) การเข้าถึงและความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้งาน

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงแนวคิดการออกแบบหลังคา 

(Roof design, Rain water and Shading ) ชายคาถูกออกแบบให้ยื่นออกไปทางด้านทิศตะวันออกและ ตะวันตกเพื่อป้องกันแสงแดดกะทบโดยตรง และช่องระบายอากาศใต้หลังคาถูกออกแบบเพื่อระบายอากาศและช่วยลดการสะสมความร้อนในช่วงกลางวัน ประกอบกับการวางอาคารขวางทางด้านทิศเหนือ-ใต้ จึงไม่ทำให้ตัวอาคารรับแสงแดดโดยตรง ต้นปาล์มขวดเดิมจำนวน8ต้น ปลูกล้อมรอบตัวอาคารจึงสามารถช่วยป้องกันความร้อนได้อีกทางหนึ่งหลังคาถูกออกแบบเป็นรูปปีกผีเสื้อ(Butterfly Roof)เพื่อให้มีรูปแบบสมัยใหม่ (Modern)  และข้อดีของหลังคารูปปีกผีเสื้อ(Butterfly Roof)คือสามารถรองรับน้ำฝนได้ดี วัสดุทำจากเมทัลชีทขึ้นรูป จึงมีน้ำหนักเบากว่าหลังคาประเภทอื่นๆ เนื่องจากตัวอาคารอยู่ใกล้กับคูน้ำทางด้านทิศตะวันตกจึงสามารถระบายน้ำฝนจากหลังคาได้โดยตรง

 

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงการเระบายอากาศ เนื่องจากโครงสร้างหลักของตู้คอนเทนเนอร์เป็นเหล็กทั้งหมดจึงทำให้เกิดการสะสมความร้อนค่อนข้างสูงในช่วงกลางวัน การทำช่องระบายอากาศในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อเป็นการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนออกจากตัวตู้ก่อนใช้งาน การวางอาคารขวางทางด้านทิศเหนือ-ใต้จึงทำให้ระบายได้ดี

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงตำแหน่งตัดแผงช่องระบายอากาศ ,ช่องแสงและ ทางเข้า-ออก 

 

 

6 นำเสนอแบบร่าง Final

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงรูปอาคารทางทิศเหนือ และทิศใต้ 

 

ภาพทัศนียภาพ (Perspective) แสดงรูปอาคาร 

 

ภาพทัศนียภาพ (Perspective) แสดงรูปอาคาร 

Details 1 รายละเอียดการติดตั้งแผ่นPerforateช่องระบายอากาศใต้หลังคา 2.รายละเอียดราวบันได 3.แผ่น perforate ตกแต่งผนังตู้ภายนอก 4.รายละเอียดบันได 5.โครงสร้าง ไวด์แฟรงค์ (Wide Flange Beam) 6.ช่องเปิดใต้หลังคา 7.รายละเอียดช่องหน้าต่าง 8.รายละเอียดพื้นระเบียง 9.รายละเอียดพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

Detail No 3 ภาพแสดงตะแกรงปั๊มรู (Perforate) ขนาดรู ระยะห่างระหว่างรูและมุมของแนวปั๊มเจาะรูสำหรับตกแต่งผนังอาคาร(Facades)

ตะแกรงปั๊มรู (Perforate) ชุบกัลวาไนซ์ก่อนอบสีตามที่กำหนด (Powder Coating)

 

Detail No 7 ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงรายละเอียด(Details) โครงสร้างกรอบกระจก และหน้าต่าง

 

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงตำแหน่งรายละเอียดต่างๆ (Details) และตำแหน่งการติดตั้งตัวอักษรชื่อต่างๆ (signage)

 

7 ตู้คอนเทนเนอร์ (Container) 

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ (Container)

ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานในปัจจุบันมีโครงสร้างที่แข็งแรงและทนทานต่อการกัดกร่อนจากความเค็มของน้ำทะเลได้ดีเนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานผลิตจากเหล็กหรืออลูมิเนียม และโครงสร้างมีความแข็งแรงมากจึงสามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น โดยการยึดตู้ติดกัน (Slot) จะมีประตูเหล็กขนาดใหญ่หนึ่งด้านจำนวน 2 บานโดยมีชุดล็อคภายนอก และพื้นของตู้ส่วนใหญ่จะทำจากไม้อัด(กันความชื้น)โดยยิงน็อตยึดกับโครงคร่าวเหล็กของตู้

1) Dry Cargoes คือเป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องการรักษาอุณหภูมิเป็นพิเศษสินค้าต้องมีหีบห่อในการขนส่ง

 2) Refrigerator Cargoes คือตู้ที่ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ และสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียสสำหรับสินค้าที่ประเภทของสดหรือสินค้าที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ

3) Garment Container คือตู้สินค้าที่สำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าเสื้อผ้า, เครื่องแต่งกาย หรือ เครื่องนุ่งห่ม

4) Open Top คือ ตู้ที่ด้านบนเปิดโล่งสำหรับสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ

5) Flat-rack คือ ตู้ที่เปิดโล่งทั้งด้านบน และด้านข้าง ใช้สำหรับสินค้าที่มีขนาดพิเศษทั้งความกว้างและความสูง เช่น เครื่องจักร, ประติมากรรม, ยานพาหนะ เป็นต้น

ขนาดของตู้มาตรฐานอาจแบ่งได้ 3ขนาดดังนี้

 1) ขนาดของตู้ 20’GP (20 ฟุต) ตู้ 20 ฟุตนั้นหนักประมาณ 2.2 ตัน 

2) ขนาดของตู้ 40’GP (40 ฟุต) ตู้ 40 ฟุตนั้นหนักประมาณ 3.8 ตัน 

3) ขนาดของตู้ 40’HC (40 ฟุต ไฮคิวบ์) ตู้ 40 ฟุตไฮคิวบ์นั้นหนัก ประมาณ 

ประเภทตู้คอนเทนร์ที่ใช้ในโครงการ

ตู้ขนาด 40' ฟุตไฮคิวบ์นั้น (High Cube) (กว้าง 2.5 x ยาว 12 x สูง 2.9 เมตร  หนักประมาณ 3.9 ตัน สามารถโหลดสินค้าได้สูงสุดประมาณ 26 ตัน และมีปริมาตรสูงสุดประมาณ 75 คิวบิกเมตร

 

ส่วนประกอบกรอบโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์ (CONTAINER FRAME STRUCTURAL COMPONENTS)

1 Corner Post  2. Door Header  3. Top Side Rail  4. Top End Rail  5. Forklift Pocket Strap  6. Forklift Pocket  7. Bottom Side Rail 8 Door Sill  9 Corner Fitting  10 Corner Post  11 Bottom End Rail  12 Cross Member

 

ภาพสมมาตร (Isometric) แสดงส่วนประกอบกรอบโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Frame Structure Components)

Cr. ภาพจาก http://www.residentialshippingcontainerprimer.com/

Assembly

องค์ประกอบโครงสร้าง (CONTAINER STRUCTURAL COMPONENTS)

1 ผนังหลังคา (Roof Panel) 2.ผนังด้านข้าง (Side  wall Panel) 3.ประตู้เหล็กด้านหน้า (Front door) 4.ผนังด้านหลัง (Back wall panel)

5.ผนังด้านข้าง (Side wall Panel) 6.พื้น (Flooring) Fiberglass Reinforced Plywood (FRP) 7.โครงสร้าง (Structure)

 

ปัญหาในการก่อสร้าง

1). เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของตู้มีระยะที่ห่างจากอาคารหลักจึงทำให้สินปลืองในติดตั้งระบบไฟและระบบสือสาร                                                                                       

2). ตู้คอนเทนเนอร์เป็นตู้ที่ผ่านการใช้งานจึงทำให้รอยบุบเป็นแอ่งหลายแห่งยากต่อการซ่อมแซม น้ำฝนขังสละสม จึงมีโอกาสรั่วซึมได้ง่าย

3). เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ชั้นที่สองถูกเจาะช่องแสงและช่องระบายอากาศขนาดใหญ่จึงทำให้โครงสร้างเดิมเสียความมั่นคงและระยะการวางตู้คอนเทนเนอร์สองตู้ล่างมีระยะ (span) 8,5เมตรจึงส่งผลให้ตู้คอนเทนเนอร์ชั้นสอง เกิดการสั่นรวมถึงช่วงกลางตู้มีลักษณะแอ่นตกท้องช้าง จึงมีความจำเป็นต้องเสริมโครงสร้างเส้าและคานด้วยเหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange Beam) ขนาด 350x250 x 79.7 kg เพื่อความปลอดภัย   

 

ภาพรูปด้าน(Elevation) แสดงตำแหน่งช่องตัด (Steel cut opening)

ภาพแสดงตำแหน่งเจาะช่องแสงและความผิดปกติของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Deformation)

จากที่กล่าวมาแล้วการตัดแผงผนังตู้คอนเทนเนอร์ออกขนาดใหญ่ส่งผลให้โครงสร้างเดิมไม่สมบูรณ์ และเสียความมั่นคงทำให้เกิดความผิดปกติของตู้คอนเทนเนอร์

เช่นเดียวกับการตัดแผงกระดาษลูกฟูกของกล่องกระดาษออก กล่องกระดาษ จะเสียความแข็งแรง 

ภาพสมมาตร(Isometric) แสดงความผิดปกติของตู้คอนเทนเนอร์ (Container Deformation) จากการเจาช่องแผงผนังเหล็กออก(Steel cut opening)

Cr. ภาพจาก http://www.residentialshippingcontainerprimer.com

 

ภาพสมมาตร(Isometric)และรูปด้าน(Elevation) แสดงการเสริมโครงสร้างเหล็ก (Rail Reinforcement) ในตำแหน่งที่แผงผนังเหล็กถูกตัดออก เพื่อให้โครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์สมบูรณ์ และมั่นคงขึ้นเหมือนเดิม

Support structure

 

สรุปข้อดี-ข้อเสียสำหรับการนำตู้คอนเทนเนอร์มือสองมาใช้งานในโครงการ

ข้อดี

ปัจจุบันนิยมนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ในการก่อสร้างที่หลากหลาย เช่น ที่พักอาศัย โรงแรม รีสอร์ท สำนักงานชั่วคราว ร้านค้า ร้านกาแฟ เป็นต้น เนื่องจาก
ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง  ,ราคาไม่แพง  ,มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ,โครงสร้างมีความแข็งแรงทนทาน สามารถวางทับซ้อนกันได้ และ เคลื่อนย้ายได้ง่าย

ข้อเสีย
การนำตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลดระวางแล้วมาใช้งาน มีข้อเสียหลายประการดังนี้

เสียเวลา  -  เนื่องจากมีจุดชำรุดเสียหายหลายแห่ง เช่น พื้น ผนัง หลังคา และโครงสร้าง มีโอกาสรั่วซึมสูง จึงจำเป็นต้องทำการซ่อมแซมก่อนนำมาใช้งาน ทำให้เสียเวลาบางส่วนในการก่อสร้าง                                                                                                                                                                            

เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม  - เนื่องจากต้องทำการซ่อมแซมทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 

สิ้นเปลืองพลังงาน  -  โครงสร้างหลักของตู้คอนเทนเนอร์เป็นเหล็กทั้งหมด เกิดสนิมได้ง่าย จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ และมีการสะสมความร้อนภายใน ช่วงเวลากลางวันทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน

มีพื้นที่จำกัด – ตู้คอนเทนเนอร์หนึ่งตู้มีพื้นใช้สอยจำกัดจึงไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

ภาพสภาพตู้คอนเทนเนอร์ที่ผ่านการใช้งานจากโรงงานและภาพการขนส่ง

 

8 ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมจากสถานที่จริง

ภาพเครนยกตู้คอนเทนเนอร์วางลงบนตำแหน่งของฐานราก

 

  ภาพอาคารจากด้านหน้า 

ภาพอาคารจากด้านหลัง

ภาพอาคารจากด้านหน้า

ภาพห้องประชุมชั้นสอง

ภาพห้องห้องอเนกประสงค์ (Multipurpose Space) ชั้นสอง

ภาพระเบียงชั้นสอง

ภาพอาคารจากภายนอกในเวลาเปิดแสงสว่าง

ภาพอาคารจากภายนอกในเวลาเปิดแสงสว่าง

ภาพรายละเอียด(Details) ชื่อตัวอักษรทำจากแผ่นโลหะและซ้อนไฟLED ไว้ด้านหลัง  

ภาพรายละเอียดบันได (Details)

ภาพรายละเอียด (Details)

 

ภาพแสดงการใช้งานจากสถานที่จริง

 

 

 

 

Cr. ภาพจาก VDO presentation Thammasat Design School TDS