1. ชื่อโครงการ   งานปรับปรุงออกแบบสวนหย่อมบริเวณห้องพัก สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา

2. ผู้ออกแบบ

                อาจารย์ศุภวัจน์  แก้วขาว

                อาจารย์สุภณัฐ  เดชนิรัติศัย

                สาขาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

3. หลักการและที่มา

                พื้นที่โครงการเป็นส่วนทางด้านในของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ซึ่งเป็นส่วนที่มีผู้เข้าพักเป็นประจำ และบางส่วนเป็นผู้ที่เข้าพำนักในระยะยาว เนื่องจากเป็นแขกของสถาบัน โดยในพื้นที่ส่วนนี้เริ่มเสื่อมโทรมและขาดพื้นที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของผู้ที่เข้าพัก อีกทั้งยังเชื่อมต่อไปยังส่วนด้านหลังของสถาบันฯ ที่คล้ายกับเป็นส่วนของบำรุงรักษา ดังนั้นเพื่อให้สภาพแวดล้อมของพื้นที่ส่วนนี้มีความเหมาะสมมกขึ้นทางสถาบันฯจึงได้มีแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อให้มีความน่าใช้งานกว่าเดิม

4. วัตถุประสงค์

                เพื่อปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น

                เพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในพื้นที่

5. สถานที่ตั้ง

                สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

6. ขนาดพื้นที่โครงการ

                900 ตรม.

7. งบประมาณ

                69,000 บาท

8. ขั้นตอนดำเนินการ

          ในการปรับปรุงพื้นที่ศึกษาได้มีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

                1. การสำรวจและเก็บพื้นที่ โดยใช้แผนที่และแบบก่อสร้างเดิมประกอบการสำรวจ พร้อมกับการถ่ายภาพและบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจหรือเป็นประเด็นในด้านการใช้งาน และการดูแลรักษา

                2. การวิเคราะห์พื้นที่ นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญที่ต้องทำการปรับปรุงในแต่ละพื้นที่

                3. การออกแบบ นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแบบร่างก่อนพัฒนาเป็นแบบจริงและแบบก่อสร้าง

               4. การทำแบบก่อสร้างและใบราคากลาง นำแบบที่ได้มาพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างและถอดราคาวัสดุต่างๆ ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด

9. การวิเคราะห์ข้อมูล

                ลักษณะโดยรวมของพื้นที่มีลักษณะเป็นกึ่ง enclose  space โดยพื้นที่ทางด้านเหนือและใต้เป็นส่วนของห้องพักของผู้เข้าใช้บริการมีลักษณะเป็นแบบ single corridor หันหน้าเช้าหาพื้นที่โล่งตรงกลาง ส่วนอาคารทางทิศตะวันออกเป็นอาคารห้องควบคุมและห้องแม่บ้าน โดยมีทางเดินระหว่างอาคารแบบมีหลังคาเชื่อมต่อกันทั้งสามอาคาร  ส่วนฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่เปิดโล่งสามารถมองเห็นส่วนที่เป็นที่เลี้ยงต้นไม้ของสถาบันฯ มีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก มีร่มเงาแต่ว่าบริเวณด้านล่างของลำต้นจะโล่ง สำหรับต้นไม้เดิมด้านในมีบางส่วนที่มีขนาดใหญ่สามารถให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี คือ ต้นมะม่วงที่อยู่ติดส่วนห้องพักทางด้านทิศเหนือ ส่วนต้นอื่นๆ ได้แต่ต้นหมากเยอรมันอยู่ทางด้านหลังของอาคาร โดยรายละเอียดการวิเคราะห์ได้แสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การวิเคราะห์พื้นที่ออกแบบ

ภาพที่  2 ผังบริเวณพื้นที่ออกแบบ

ภาพที่ 3 ตัวอย่างพืชพรรณที่ใช้ในงานออกแบบ 1

ภาพที่ 4 ตัวอย่างพืชพรรณที่ใช้ในงานออกแบบ 2